วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

์ืnoreesan1612

ช่วงวัย




วัยทารก
เป็นระยะเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ถึงหนึ่งปี ซึ่ง เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นวัยที่อ่อนแอกว่าวัยอื่น และเป็นวัยที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นวัยที่มีการสร้างรากฐานของการพัฒนาบุคลิกภาพ ในระยะต่อ ๆ ไป ซึ่งแบ่งออกเป็น ระยะ คือ
ระยะที่ วัยทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกอายุ ตั้งแต่แรกเกิด - เดือน เป็นระยะที่มีความสำคัญมากทารกต้องมีการเปลี่ยนแปลงสภาพมากมาย ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ใหม่ภายนอกครรภ์ มารดา ต้องพึ่งผู้อื่นในการดำรงชีวิต นับตั้งแต่คลอด ทารกจะมีการปรับตัวเกี่ยวกับการหายใจ การดูด การขับถ่าย ทารกจะร้องไห้เมื่อหิว หรือได้รับความเจ็บปวด สายตายังมองอะไรได้ไม่ค่อยชัด ทารกจะชอบใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ แสดงอารมณ์ดี ยิ้มเมื่อพ่อแม่อุ้มหรือโอบกอด ทารกจะส่งเสียงร้องไห้เป็นสื่อ เพื่อแสดงออกให้พ่อแม่รับรู้ความรู้สึก
ระยะที่ วัยทารก หมายถึง ทารกอายุตั้งแต่ เดือน - ปี เป็นวัยแห่งการเจริญเติบโตที่เร็วมาก เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับโรค และสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดที่สุด ในด้านร่างกายและจิตใจ เป็นวัยที่มีการสร้างบุคลิกภาพ พัฒนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ทารกเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นเมื่ออายุ 6 – 8 เดือน ในด้านพฤติกรรม เด็กในวัยนี้มักแสดงความอยากรู้อยากเห็น แสดงความกลัว เช่น กลัวคนแปลกหน้า กลัวเสียงดัง ๆ แสดงความพึงพอใจโดยการยิ้ม หัวเราะ ชอบจ้องมองหือนิ่งฟังเสียงต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังชอบเลียนแบบคำพูด ท่าทางของคนใกล้ชิด และสามารถที่จะเรียนรู้และแสดงออกทางภาษา ได้แก่ ส่งเสียงร้องไห้ ส่งเสียงแหลมสูง ทำเสียงดัง ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะพูด

วัยเด็ก 3-12 ปี





        
           ระยะที่ วัยเด็กตอนต้น  หรือวัยเด็กเล็ก หรือวัยอนุบาล (ช่วงอายุ 3 - 6 ปี)
เป็นวัยที่มีความก้าวหน้าทางพัฒนาการในทุกด้าน ได้แก่
          
1. พัฒนาการทางร่างกายเป็นวัยที่เด็กสามารถควบคุมร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของตน จึงสามารถทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างได้ด้วยตนเอง จึงชอบที่จะกระโดดโลดเต้น ปีนป่าย เพื่อฝึกการควบคุมร่างกายให้เกิดความชำนาญมากขึ้น ซึ่งผู้ใหญ่เรียกวัยนี้ว่าเป็น วัยซน ดังนั้น ผู้ใหญ่จึงต้องส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายโดยคำนึงถึงความปลอดภัย ของเด็กด้วย
           
2. พัฒนาการทางอารมณ์
เด็กในวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้การแสดงพฤติกรรมตอบสนองอารมณ์จากคนใกล้ชิดรอบ ข้าง มักจะมีธรรมชาติของอารมณ์เหมือนวัยเด็กตอนต้น คือแสดงออกอย่างเปิดเผย ไม่ซับซ้อน แปรปรวนได้ง่าย
                               3. พัฒนาการทางสังคมเป็นวัยที่ต้องมีการปรับตัวและเรียนรู้วิธีการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน ใหม่ และบุคคลแวดล้อมในสถานศึกษา เด็กจะเรียนรู้ในการแสดงพฤติกรรมที่ทำให้คนอื่น ยอมรับและปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสังคมใหม่ แต่อย่างไรเด็กวัยนี้ยังยึดตนเป็นศูนย์กลางอยู่ เช่น อยากคุยในสิ่งที่ตนต้องการ โดยไม่คำนึงว่าคนอื่น ๆ จะพูดเรื่องใดอยู่
           4. พัฒนาการทางสติปัญญา
เด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการทางภาษาอย่างต่อเนื่อง คือสามารถใช้ภาษาในรูปแบบของประโยคได้ จะชอบเลียนแบบภาษาพูดและลักษณะท่าทางจากผู้ใหญ่ ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ อยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย ชอบจินตนาการ จึงมักแสดงออกด้วยการซักถาม เช่น ทำไม อะไร อย่างไร เป็นต้น สำหรับด้านความจำ เด็กยังมีอยู่ในวงจำกัด เช่น จำเลขได้แค่ 1-2 หลัก จำสีได้เพียงแม่สี เป็นต้น
           ระยะที่ วัยเด็กตอนกลาง (ช่วงอายุ 6 – 9 ปี)พัฒนาการของเด็กในวัยนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไม่มากนัก มีพัฒนาการอย่างช้า ๆ ได้แก่
     1. พัฒนาการทางร่างกายเด็กจะมีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวมากขึ้นกว่าเดิม เป็นผลของพัฒนาการที่ผ่านมาจากวัยเด็กตอนต้น
     2. พัฒนาการทางอารมณ์เด็กจะเริ่มมีการควบคุมทางอารมณ์ได้บ้างแล้ว ลักษณะอารมณ์ของเด็กวัยนี้จะเต็มไปด้วยความสนุกสนาน มีความสุขกับการได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อน จนบางครั้งขาดความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย ผู้ใหญ่จึงมักเรียกเด็กในวัยนี้ว่า วัยสนุกสนาน
     
3. พัฒนาการทางสังคมเด็กจะยังไม่มีการแบ่งกลุ่มทางเพศในการทำกิจกรรมอย่างชัดเจน แต่จะเริ่มลดการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางแห่งความคิดและการกระทำลง และเริ่มให้ความสำคัญกับกลุ่มเพื่อน รักพวกพ้อง แต่ทั้งนี้เพื่อนในวัยเดียวจะเริ่มมีบทบาทต่อทัศนคติและความคิดของเด็กมาก ขึ้นมากเดิม
     
4. พัฒนาการทางสติปัญญาเด็กจะเริ่มเรียนรู้และมีประสบการณ์เพิ่มขึ้น รู้จักใช้เหตุผลในการตัดสินใจ เลือกทำในสิ่วที่ตนสนใจ มีความรับผิดชอบมากขึ้น สามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้วได้อย่างแม่นยำ สามารถเรียงลำดับตัวเลขไม่มากนักได้ รู้จักแยกแยะสีได้มากกว่าวัยเด็กตอนต้น
        ระยะที่ วัยเด็กตอนปลาย (ช่วงอายุ 10 –12 ปี)
ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของวัยเด็ก เนื่องจากว่าเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในทุกด้านหลายประการ ดังนี้
     1. พัฒนาการทางร่างกายร่างกายของเด็กวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว่าผู้ชายเมื่ออายุประมาณ 10 ปีครึ่ง ในขณะที่เด็กชายจะเริ่มการเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุ 12 ปีครึ่ง บางครั้งเรียกวัยนี้อีกอย่างว่า วัยเตรียมเข้าสู่วัยรุ่น      2. พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัยนี้จะสามารถควบคุมและเรียนรู้การแสดงออกทางอารมณ์ที่สังคมยอมรับ เริ่มมีความวิลกกังวลและความเครียด เนื่องจากปัญญาในกลุ่มเพื่อนและการได้รับการยอมรับในกลุ่ม หรือแม้กระทั่งการแข่งขันในด้านการเรียนกับเพื่อนร่วมชั้น จนดูเหมือนกับว่าเด็กในวัยนี้หงุดหงิดได้ง่าย
      
3. พัฒนาการทางสังคมเด็กจะเริ่มมีการแบ่งกลุ่มระหว่างเพศหญิงและเพศชายอย่างเด่นชัด และจะเลือกทำกิจกรรมที่เหมาะสมของเพศของตน เพื่อนวัยเดียวกันจะมีอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำมากขึ้น ผู้ใกล้ชิดจึงควรให้คำแนะนำเกี่ยวกับการคบหาเพื่อนของเด็ก       

     4. พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กในวัยนี้มีระดับทางสติปัญญาที่เพิ่มขึ้นในอีกระดับหนึ่ง โดยเริ่มมีจินตนาการกว้างไกลขึ้น สามารถเปรียบเทียบได้ เข้าใจความสัมพันธ์และความแตกต่างของสิ่งรอบตัว เข้าใจในความสัมพันธ์ของตัวเลขมากขึ้น และมีความจำที่แม่นยำขึ้นกว่าเดิมมาก

  วัยรุ่น

           วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วุฒิภาวะทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม จึงนับว่าเป็นวิกฤติช่วงหนึ่งของชีวิต เนื่องจากเป็นช่วงต่อของวัยเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นของวัยจะมีการเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างวัยรุ่นด้วยกันเอง และบุคคลรอบข้าง หากกระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยการดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด จะช่วยให้วัยรุ่นสามารถปรับตัว ได้อย่างเหมาะสมบรรเทาปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และเป็นทั้งแรงผลักดันและแรงกระตุ้นให้พัฒนาการด้านอื่นๆ เป็นไปด้วยดี
           คำจำกัดความ คำว่า “วัยรุ่น” มีความหลากหลาย เนื่องจากขึ้นกับความแตกต่างของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒธรรม ตลอดจนความแตกต่างทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงทางสรรีวิทยา ของวัยรุ่นในแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม องค์กรอนามัยโลก ได้กำหนดความหมายกว้างๆ ของวัยรุ่นไว้ดังนี้
           วัยรุ่น หมายถึง ช่วงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ในลักษณะที่พร้อมจะมีเพศสัมพันธ์ได้
วัยรุ่น เป็นระยะที่มีการพัฒนาทางจิตใจมาจากความเป็นเด็ก ไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่
          วัยรุ่น เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงจากสภาพ ที่ต้องพึ่งพาทางเศรษฐกิจไปสู่ภาวะที่ต้องรับผิดชอบและพึ่งพาตนเอง
          วันนี้จึงครอบคลุมอายุโดยประมาณ คือ เด็กหญิง ระหว่างอายุ 10 – 20 ปี และเด็กชายระหว่างอายุ 12 – 22 ปี เนื่องจากช่วงวัยดังกล่าวค่อนข้างยาว ทางการแพทย์และจิตวิทยาพัฒนาการจึงแบ่งช่วงดังกล่าว ออกเป็น 2 – 3 ระยะ (แล้วแต่หลักเกณฑ์ของผู้เชี่ยวชาญ) เนื่องจากระยะต้นกับระยะปลายของวัย เด็กจะมีการเจริญเติบโต ทั้งกายและจิตใจ อารมณ์ แตกต่างกันมาก ในที่นี้จะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

วัยรุ่นตอนต้น
 เด็กผู้หญิงอยู่ในช่วงอายุ 10 – 14 ปี เด็กผู้ชายอยู่ในช่วงอายุ 12 –16 ปี ในระยะนี้มีการเปลี่ยนแปลง คือ
  • มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างรวดเร็ว เช่น เด็กหญิงจะมีเต้านมใหญ่ขึ้น มีประจำเดือนมีการสร้างฮอร์โมนอีสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน มีขนตามรักแร้และอวัยวะเพศภายนอกมีรูปร่างสูงใหญ่
  • ค่อนข้างหลงตัวเอง (Narcissistic phase)
  • มีความเพ้อฝัน (Magical Thinking)
  • มีความเป็นอิสระ (Emancipation) แต่ยังต้องพึ่งพาพ่อแม่ ยังสนใจเพศเดียวกัน

วัยรุ่นตอนกลาง
วัยรุ่นตอนกลาง เด็กผู้หญิงอยู่ในช่วง 14 –18 ปี เด็กผู้ชายในช่วงอายุ 16 – 20 ปี ในระยะนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ
  • เป็นระยะที่ดื้อรั้น โมโหง่าย มักจะมีความขัดแย้งกับพ่อแม่สูง
  • เพื่อมีอิทธิพลสูง
  • เริ่มสนใจเพศตรงข้าม
  • การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเริ่มสมบูรณ์เต็มที่
  • เป็นระยะที่เริ่มทดลองเกี่ยวกับเพศ ซึ่งถ้าขาดความรู้และการป้องกันจะก่อให้เเกิดปัญหาตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งโรคเอดส์
  • ยังคงมีความคิดเพ้อฝัน
        วัยรุ่นระยะนี้จึงมีปัญหามากและบ่อยที่สุด



วัยรุ่นตอนปลาย
วัยรุ่นตอนปลาย เด็กหญิงอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18 – 20 ปี เด็กผู้ชายอยู่ในช่วง 20 – 22 ปี เป็นระยะที่เจริญเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญเต็มที่ ดังนั้นระยะนี้จึงมีลักษณะ
  • รู้จักบทบาทของเพศเองเต็มที่
  • มีความเป็นอิสระเต็มที่ในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ
  • ค่อนข้างยอมรับการให้คำแนะนำได้ง่ายกว่าวัยต้นๆ
  • ให้ความสนใจต่อคำแนะนำต่างๆ รวมทั้งเรื่องการป้องกันปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม
        เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้าน ร่างกาย ด้านจิตใจหรืออารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา



วัยผู้ใหญ่

           








              พัฒนาการทางร่างกาย 
บุคคลในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีการพัฒนาทางร่างกายอย่างเต็มที่ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ร่างกายสมบูรณ์ มีการพัฒนาความสูงมาจากวัยรุ่นและจะมีความสูงที่สุดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นนี้ รวมทั้งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อไขมัน มีการพัฒนาอย่างเต็มที่เช่นกัน ในวัยนี้ร่างกายจะมีพลัง คล่องแคล่วว่องไว การรับรู้ต่าง ๆ จะมีความสมบูรณ์เต็มที่ จนกระทั่งเข้าสู่วัยกลางคนความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้จะลดลง 
             พัฒนาการด้านอารมณ์ 
วัยผู้ใหญ่จะมีการควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น มีความมั่นคงทางจิตใจดีกว่าวัยรุ่น คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น รู้สึกยอมรับผู้อื่นได้ดีขึ้น มีพัฒนาการด้านอารมณ์รัก (Love) ได้ในหลายรูปแบบ การเก็บกด (Impulsiveness) น้อยลง แต่จะใช้การตอบสนองด้วยเหตุผลทั้งกับตนเองและผู้อื่นมากขึ้น (ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต, 2541) 
             พัฒนาการด้านสังคม 
วัยนี้จะให้ความสำคัญกับกลุ่มเพื่อนร่วมวัยลดลง จำนวนสมาชิกในกลุ่มเพื่อนจะลดลง แต่สัมพันธภาพในเพื่อนที่ใกล้ชิดหรือเพื่อนรักยังคงอยู่และจะมีความผูกพันกันมากกว่าความผูกพันในลักษณะของคู่รักและพบว่ามักเป็นในเพื่อนเพศเดียวกัน (Papalia and Olds, 1995) การสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มใช้ชีวิตครอบครัวกับคู่ของตนเอง และเกิดการปรับตัวกับบทบาทใหม่ 
             พัฒนาการทางสติปัญญา 
วัยผู้ใหญ่มีพัฒนาการทางความคิดสติปัญญาอยู่ในระดับ Formal operations ซึ่งเป็นขั้นสูงที่สุดของพัฒนาการ มีความสามารถทางสติปัญญาสมบูรณ์ที่สุดคือคุณภาพของความคิดจะเป็นระบบ
ผู้ใหญ่จะมีความคิดเปิดกว้าง ยืดหยุ่นมากขึ้น และรู้จักจดจำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี
 ปัญหาที่เจอในวัยผู้ใหญ่
ปัญหาที่พบในวัยนี้คือปัญหาสุขภาพ เนื่องมาจากลักษณะการดำรงชีวิต (The Lifestyle)
ประกอบกับในวัยนี้มีการปรับบทบาทใหม่อย่างมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นปัญหาที่เกิดจากการไม่สามารถปรับเข้าสู่บทบาทใหม่

วัยผู้สุงอายุ


เป็นวัยซึ่งมีความแตกต่างจากวัยอื่น เป็นวัยบั้นปลายของชีวิต ดัง นั้นปัญหาของผู้สูงอายุในทุกด้านโดยเฉพาะด้านสังคม และสาธารณสุข จึงแตก ต่างจากคนในวัยอื่น ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งรัฐบาลไทย และทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงมีความพยายาม และมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ให้ทุกคนตระหนัก เข้าใจ และพร้อมดูแลผู้สูงอายุให้ทัดเทียมเช่นเดียวกับการดูแลประชากรในกลุ่มอายุอื่น